19 October 2020

ประเภทของเครื่องดับเพลิง และการเลือกใช้

A fire extinguisher is an active fire protection device used to extinguish or control small fires, often in emergency situations. It is not intended for use on an out-of-control fire, such as one which has reached the ceiling, endangers the user (i.e., no escape route, smoke, explosion hazard, etc.), or otherwise requires the expertise of a fire brigade. Typically, a fire extinguisher consists of a hand-held cylindrical pressure vessel containing an agent that can be discharged to extinguish a fire. Fire extinguishers manufactured with non-cylindrical pressure vessels also exist but are less common.

ประเภทของเครื่องดับเพลิง และการเลือกใช้

A fire extinguisher is an active fire protection device used to extinguish or control small fires, often in emergency situations. It is not intended for use on an out-of-control fire, such as one which has reached the ceiling, endangers the user (i.e., no escape route, smoke, explosion hazard, etc.), or otherwise requires the expertise of a fire brigade. Typically, a fire extinguisher consists of a hand-held cylindrical pressure vessel containing an agent that can be discharged to extinguish a fire. Fire extinguishers manufactured with non-cylindrical pressure vessels also exist but are less common.


ALL ARTICLES


การติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือให้ถูกหลัก อุ่นใจพร้อมใช้งาน

การติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือให้ถูกหลัก อุ่นใจพร้อมใช้งาน

เครื่องดับเพลิง อุปกรณ์สำคัญในยามเกิดเหตุเพลิงไหม้ แต่หากติดตั้งไม่ถูกวิธี เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน อาจจะเป็นการยากที่จะหยิบมาใช้งาน และอาจไม่ทันท่วงที วันนี้ อิมพีเรียล จึงมีวิธีการติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือให้ถูกหลัก และอุ่นใจพร้อมใช้งานอยู่เสมอ มาฝากกันครับ การติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ ตามประกาศกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 19 อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ - ติดตั้งโดยความสูงจากพื้นถึงส่วนบนสุดของตัวเครื่อง ไม่เกิน 1.50 เมตร - ติดตั้งป้ายคำแนะนำการใช้งาน และป้ายชี้ตำแหน่งไว้เหนือเครื่องดับเพลิง เพื่อให้มองเห็นชัดเจนในระยะไกลจากทุกมุมมองตลอดเวลา - ติดตั้งเครื่องดับเพลิงแต่ละเครื่องต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 45 เมตร - 1 เครื่องต่อพื้นที่อาคารไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร และไม่น้อยกว่าชั้นละ 1 เครื่อง - พื้นที่โดยรอบต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง และต้องสามารถนำมาใช้งาน ได้สะดวก การติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552 ปฏิบัติได้ดังนี้ - ติดตั้งโดยความสูงจากพื้นถึงส่วนบนสุดของตัวเครื่อง ไม่เกิน 1.50 เมตร - ติดตั้งป้ายชี้ตำแหน่ง ไว้เหนือเครื่องดับเพลิง เพื่อให้มองเห็นชัดเจนในระยะไกลจากทุกมุมมองตลอดเวลา - ติดตั้งเครื่องดับเพลิงแต่ละเครื่องต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน 20 เมตร - พื้นที่โดยรอบต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง และต้องสามารถนำมาใช้งาน ได้สะดวก นอกจากนี้เพื่อประสิทธิภาพและการใช้งาน ควรตรวจสอบเครื่องดับเพลิงให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ รวมถึงควรเปลี่ยนสารดับเพลิงทุก 5 ปีโดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญ เเละตรวจสอบปีผลิตของเครื่องดับเพลิง (ไม่ควรเกิน 12 ปี) โดยสามารถตรวจสอบปีที่ผลิตที่ตอกประทับอยู่บนตัวเครื่องดับเพลิงตำแหน่งต่างๆ เช่น บริเวณบ่าคอถัง บริเวณตัวแขวนถัง หรือ บริเวณก้นถัง ตามแต่ละผู้ผลิตครับ

11 January 2024

3631

เครื่องดับเพลิงในรถยนต์ พกให้ถูก ป้องกันเหตุได้

เครื่องดับเพลิงในรถยนต์ พกให้ถูก ป้องกันเหตุได้

เพลิงไหม้รถ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและใกล้ตัวเป็นอย่างมาก อันเนื่องมาจากหลากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของเครื่องยนต์ รถเก่า การติดตั้งระบบก๊าซที่ไม่ได้มาตรฐาน และอุบัติเหตุ เป็นต้น เพื่อสร้างความปลอดภัยในการขับขี่ จึงควรเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้รถอยู่เสมอ ด้วยการติดตั้งเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสมไว้ภายในรถ วันนี้ อิมพีเรียล จึงอยากแนะนำการเลือกใช้เครื่องดับเพลิงให้เหมาะสมกับรถยนต์แต่ละประเภท เพื่อให้ทุกท่านสามารถเลือกใช้เครื่องดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพกันครับ - รถยนต์ - ติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งขนาด 2.2 ปอนด์หรือ 5 ปอนด์ โดยติดตั้งไว้บริเวณกระโปรงท้ายรถ - รถตู้ - ประกาศกรมขนส่งทางบกสำหรับรถตู้โดยสารไม่เกิน 13 ที่นั่ง จะต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งขนาด 2.2 ปอนด์ หรือ 5 ปอนด์ จำนวนอย่างน้อย 1 เครื่อง โดยติดตั้งภายในห้องสารไว้ในตำแหน่งเบาะด้านหลังคนขับ พร้อมค้อนทุบกระจกอย่างน้อย 3 อัน ด้านซ้าย ด้านขวา และด้านหลัง - รถบรรทุกวัสดุอันตราย (รถบรรทุกลักษณะที่ 4) เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซเหลว สารเคมี วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ เป็นต้น ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ที่มีคุณภาพสามารถใช้ดับเพลิงภายในห้องผู้ขับรถและห้องเครื่องยนต์ได้โดยมี ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 2 กิโลกรัม จํานวนอย่างน้อย 1 เครื่อง ติดตั้งไว้ในบริเวณห้องผู้ขับรถ เครื่องดับเพลิงที่มีคุณภาพสามารถใช้ดับเพลิงที่เกิดจากยาง ระบบห้ามล้อและวัตถุอันตรายที่บรรทุก โดยมีจํานวนและขนาดบรรจุตามที่กําหนด ติดตั้งไว้ในบริเวณด้านหลังห้องผู้ขับรถหรือส่วนที่บรรทุก ดังนี้ - รถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมสูงสุดไม่เกิน 3,500 กิโลกรัม ต้องมีเครื่องดับเพลิงที่ มีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 2 กิโลกรัม จํานวนอย่างน้อย 1 เครื่อง - รถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมสูงสุดเกิน 3,500 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 7,500 กิโลกรัม ต้องมีเครื่องดับเพลิงที่มีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6 กิโลกรัม จํานวนอย่างน้อย 1 เครื่อง - รถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมสูงสุดเกิน 7,500 กิโลกรัม ต้องมีเครื่องดับเพลิงที่มี ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 10 กิโลกรัม โดยอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง ต้องมีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6 กิโลกรัม การติดตั้งต้องติดตั้งในลักษณะที่สามารถนําออกมาใช้งานได้โดยง่าย และต้องติดตั้งในลักษณะที่มีการป้องกัน ผลกระทบจากสภาพอากาศ เช่น ความร้อน ความเย็น หรือความชื้น เพื่อมิให้เกิดผลต่อการทํางานของเครื่องดับเพลิง . เพื่อการดับเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ อิมพีเรียล ขอแนะนำให้ใช้เครื่องดับเพลิงชนิดสูตรน้ำ และเครื่องดับเพลิงชนิดแห้ง ควบคู่กัน โดยการใช้เครื่องดับเพลิงชนิดสูตรน้ำฉีดเพื่อทำการดับไฟก่อน ซึ่งจะเข้าไปช่วยดับไฟได้ในระดับหนึ่ง จากนั้นใช้เครื่องดับเพลิงชนิดแห้งดับไฟที่เหลือต่อ ซึ่งจะเข้าไปช่วยให้ไฟดับได้ทั้งหมดอย่างรวดเร็วครับ

11 January 2024

3212