เครื่องดับเพลิง เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างยิ่ง และเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ช่วยดับเพลิงขั้นต้นที่เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ในเรื่องของการป้องกันและระงับอัคคีภัย สำหรับอาคาร และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้อาคารหรือเจ้าหน้าที่สามารถใช้ทำการดับเพลิงได้ทันการ ในขณะที่เพลิงไหม้เพิ่งจะเกิดขึ้นและยังมีขนาดเล็กอยู่ ซึ่งแต่อาคาร หรือโรงงานแต่ละแห่งก็จะมีวัสดุเชื้อเพลิงในอาคารที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องดับเพลิงให้เหมาะสมกับกับรูปแบบของเชื้อเพลิงจึงเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ช่วยให้อันตรายจากเพลิงไหม้นั้นลดลงได้ เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงธรรมชาติของการเกิดอัคคีภัยได้ดียิ่งขึ้น เราขอเสนอทฤษฎีและความรู้ โดยเฉพาะเรื่องที่ว่า เพลิงไหม้นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือที่เรียกว่าทฤษฎีสามเหลี่ยมของไฟ ตามรูปด้านล่าง
เครื่องดับเพลิง เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นอย่างยิ่ง และเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ช่วยดับเพลิงขั้นต้นที่เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย ในเรื่องของการป้องกันและระงับอัคคีภัย สำหรับอาคาร และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้อาคารหรือเจ้าหน้าที่สามารถใช้ทำการดับเพลิงได้ทันการ ในขณะที่เพลิงไหม้เพิ่งจะเกิดขึ้นและยังมีขนาดเล็กอยู่ ซึ่งแต่อาคาร หรือโรงงานแต่ละแห่งก็จะมีวัสดุเชื้อเพลิงในอาคารที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องดับเพลิงให้เหมาะสมกับกับรูปแบบของเชื้อเพลิงจึงเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ช่วยให้อันตรายจากเพลิงไหม้นั้นลดลงได้ เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงธรรมชาติของการเกิดอัคคีภัยได้ดียิ่งขึ้น เราขอเสนอทฤษฎีและความรู้ โดยเฉพาะเรื่องที่ว่า เพลิงไหม้นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือที่เรียกว่าทฤษฎีสามเหลี่ยมของไฟ ตามรูปด้านล่าง
เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงธรรมชาติของการเกิดอัคคีภัยได้ดียิ่งขึ้น เราขอเสนอทฤษฎีและความรู้ โดยเฉพาะเรื่องที่ว่า เพลิงไหม้นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร หรือที่เรียกว่าทฤษฎีสามเหลี่ยมของไฟ ตามรูปด้านล่าง
ทฤษฎีสามเหลี่ยมของไฟ/องค์ประกอบของไฟ
การเกิดเพลิงไหม้จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการคือ
เมื่อมีองค์ประกอบทั้ง 3 อย่างนี้อยู่แล้ว ไฟก็จะเกิดการลุกไหม้ขึ้น ฉะนั้นการที่จะดับเพลิง ก็ทำได้โดยการเอาองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งออกเสีย ไฟก็จะดับ
ความรุนแรงเมื่อเกิดเพลิงไหม้มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของเชื้อเพลิง ทำให้เพลิงไหม้ถูกแบ่งประเภท ตามเชื้อเพลิงที่ติดไฟ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วแบ่งแยกได้เป็น 5 ประเภทหลักๆคือ
1. เพลิงไหม้ประเภท A (Ordinary Combustible) เพลิงไหม้ประเภทนี้เกิดจากของแข็งทั่วไป เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ ยาง และพลาสติกฯลฯ
2. เพลิงไหม้ประเภท B (Flammable Liquids) เพลิงไหม้ประเภทนี้เกิดจากของเหลวหรือก๊าซที่เป็นสารไวไฟ เช่น น้ำมันจารบี น้ำมันผสมสี น้ำมันชักเงา น้ำมันดิบ และก๊าซไวไฟ
3. เพลิงไหม้ประเภท C (Electrical Equipment) เพลิงไหม้ประเภทนี้เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าอยู่ หรืออุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านอยู่ตลอดเวลาที่ทำงาน เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งการดับเพลิงไหม้ประเภทนี้ควรต้องตัดระบบไฟฟ้าก่อนทำการดับเพลิง
4. เพลิงไหม้ประเภท D (Combustible Metals) เพลิงไหม้ประเภทนี้เกิดจากโลหะที่ติดไฟได้ เช่น แมกนีเซียม เซอร์โคเนียม ลิเทียม โปแตสเซียม และไทเทเนียม ฯลฯ
5. เพลิงไหม้ประเภท K (Cooking Media) เพลิงไหม้ประเภทนี้เกิดจากน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันพืช, น้ำมันจากสัตว์ ฯลฯ
การแบ่งประเภทของเครื่องดับเพลิง
การเลือกซื้อเครื่องดับเพลิงสำหรับอาคาร หรือโรงงานอุตสาหกรรมของคุณ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการดับเพลิงของเชื้อเพลิง ซึ่งเครื่องดับเพลิงแต่ละชนิดจะบรรจุสารภายในถังที่แตกต่างกันเพื่อสามารถในการดับเพลิงแต่ละประเภท รวมถึงขนาดที่เหมาะสมกับการเลือกใช้ตามขนาดของพื้นที่ในอาคารด้วย
1. เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Fire Extinguishers)
เครื่องดับเพลิงประเภทนี้บรรจุผงเคมีแห้งและก๊าซไนโตรเจนเป็นสารขับดัน สามารถดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อฉีดผงเคมีออกมาจะขัดขวางการลุกไหม้ของออกซิเจนกับเชื้อเพลิง จึงเหมาะสำหรับการดับเพลิงได้หลายรูปแบบ เมื่อฉีดใช้งานจะมีฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย จึงเหมาะสำหรับฉีดใช้ในที่โล่ง
เหมาะสำหรับติดตั้ง: พื้นที่โล่ง เช่น บริเวณ บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน อพาร์ทเม้นท์ และโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ
ข้อควรระวัง: หลังจากการใช้งาน น้ำยาดับเพลิงจะใช้หมด หรือไม่หมดก็ตาม ต้องทำการบรรจุน้ำยาดับเพลิงใหม่ทุกครั้ง
2. เครื่องดับเพลิงชนิดสูตรน้ำ (Low Pressure Water Mist Fire Extinguisher)
เครื่องดับเพลิงประเภทนี้บรรจุสารเคมีดับเพลิงผสมน้ำและก๊าซไนโตรเจนเป็นสารขับดัน สามารถดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อฉีดสารดับเพลิงออกมาจะสามารถตัดองค์ประกอบในการลุกไหม้ และสามารถลดความร้อนได้เป็นอย่างดี สามารถมองเห็นวิสัยทัศน์ชัดเจนขณะฉีดใช้ และสามารถป้องกันการลุกติดกลับของเพลิงไหม้ได้
เหมาะสำหรับติดตั้ง: สถานที่ที่ไม่ต้องการความสกปรก ฝุ่นฟุ้งกระจาย เช่น บริเวณทั่วไปภายใน บ้านพักอาศัย อาคารสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม และห้างสรรพสินค้า ฯลฯ
ข้อควรระวัง: เหมาะสำหรับฉีดใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลท์ ในระยะไม่น้อยกว่า 1 เมตร ตามมาตรฐาน BS:EN 3-7
3. เครื่องดับเพลิงชนิดสารสะอาด Halotron I (Clean Agent Fire Extinguishers)
เครื่องดับเพลิงประเภทนี้บรรจุก๊าซ Halotron I และก๊าซไนโตรเจนเป็นสารขับดัน สามารถดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวน้ำยาเป็นก๊าซเหลวระเหย ที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ติดไฟ ไม่เป็นสื่อในการนำไฟฟ้าและไม่ทิ้งคราบสกปรกหลังการฉีดทำให้ไม่เกิดความเสียหายต่อสิ่งของต่าง ๆ จึงเหมาะใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ
เหมาะสำหรับติดตั้ง: สถานที่ที่เน้นเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ เช่น อาคาร สำนักงาน โรงพยาบาล ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเซิร์ฟเวอร์ ห้องควบคุมไฟฟ้า ห้องแลป ห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และไลน์การผลิตที่มีเครื่องจักรมูลค่าสูง ฯลฯ
4. เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide (CO2) Fire Extinguishers)
เครื่องดับเพลิงประเภทนี้จะบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เมื่อฉีดออกมาแล้วจะมีลักษณะเป็นไอเย็นจัดของน้ำแข็งแห้ง (Dry Ice) ปกคลุมบริเวณที่เกิดเพลิงลุกไหม้ ช่วยให้ลดความร้อนและดับเพลิงได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงไม่ทิ้งคราบสกปรกหลังการฉีดทำให้ไม่เกิดความเสียหายต่อสิ่งของและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
เหมาะสำหรับติดตั้ง: อาคารสำนักงาน ห้องคอนโทรลไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และไลน์การผลิตที่มีเครื่องจักรต่าง ๆ ฯลฯ
ข้อควรระวัง: ควรวางไว้ในที่ร่ม ที่มีอุณหภูมิไม่สูงมาก และปราศจากแสงแดดส่องถึง หรือใกล้เตาไฟ และไม่ควรจับปลายหัวฉีดก๊าซ CO2 ขณะใช้งานและหลังใช้งานใหม่ๆ
5.เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำสะสมแรงดัน (Water Fire Extinguishers)
เครื่องดับเพลิงประเภทนี้บรรจุน้ำและก๊าซไนโตรเจนเป็นสารขับดัน เหมาะสำหรับการดับเพลิงไหม้ประเภท A เพื่อลดอุณหภูมิความร้อนของเชื้อเพลิงที่เป็นวัตถุของแข็งอย่าง ไม้ ผ้า กระดาษ ยาง และ พลาสติก
เหมาะสำหรับติดตั้ง: ห้องเก็บสินค้า หรือพื้นที่อื่น ๆ ที่อาจเกิดเพลิงไหม้จากเชื้อเพลิงประเภท A
ข้อควรระวัง: ห้ามนำเครื่องดับเพลิงชนิดน้ำไปดับเพลิงประเภท B เพราะจะทำให้เกิดการแพร่กระจายเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้ ตลอดจนห้ามนำไปดับเพลิงประเภท C เนื่องจากน้ำเป็นสื่อในการนำไฟฟ้า
6. เครื่องดับเพลิงชนิดโฟม (Foam Fire Extinguishers)
เครื่องดับเพลิงประเภทนี้บรรจุน้ำผสมโฟมเข้มข้น (AFFF หรือ AR-AFFF) และก๊าซไนโตรเจนเป็นสารขับดัน เมื่อฉีดออกมาจะเป็นน้ำยาฟองโฟมสีขาวปลุกคลุมผิวหน้าของวัสดุเชื้อเพลิง สามารถลดความร้อน และทำให้เชื้อเพลิงขาดอากาศมาทำปฏิกิริยา จึงไม่สามารถเกิดเพลิงไหม้ต่อไปได้
เหมาะสำหรับติดตั้ง: สถานที่ที่มีการเก็บเชื้อเพลิงจำพวกของเหลวต่าง ๆ
ข้อควรระวัง: ห้ามนำเครื่องดับเพลิงชนิดโฟมไปดับประเภท C อันได้แก่ วัตถุเชื้อเพลิงที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า เช่น กรณีการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร เนื่องจากน้ำยาโฟมมีน้ำเป็นส่วนประสม ซึ่งน้ำเป็นสื่อในการนำไฟฟ้า
7. เครื่องดับเพลิงชนิดสารเคมีเปียก (Wet Chemical Fire Extinguishers)
เครื่องดับเพลิงประเภทนี้บรรจุน้ำยา Wet Chemical (Potassium Acetate and Potassium Citrate) และก๊าซไนโตรเจนเป็นสารขับดัน สำหรับดับเพลิงที่เกิดขึ้นในห้องครัวโดยเฉพาะ หัวฉีดเป็นแบบ Spray สำหรับป้องกันการกระเด็นของน้ำมัน สามารถดับเพลิงที่เกิดขึ้นจากน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหารได้เป็นอย่างดี
เหมาะสำหรับการติดตั้ง: ภายในห้องครัวโดยเฉพาะ
8. เครื่องดับเพลิงชนิดสารเคมีโซเดียมคลอไรด์ (Class D Fire Extinguisher)
เครื่องดับเพลิงประเภทนี้บรรจุสารเคมีโซเดียมคลอไรด์ และก๊าซไนโตรเจนเป็นสารขับดัน สำหรับดับเพลิงที่เกิดจากโลหะที่ติดไฟได้ เช่น แม๊กนีเซียม เซอร์โครเนียม โซเดียม ลิเธียม โปแตสเซียม และไททาเนียม โดยมีหัวฉีดพิเศษแบบยาวเพื่อป้องกันอันตรายจากความร้อนและก๊าซพิษจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง
เหมาะสำหรับการติดตั้ง: สำหรับดับเพลิงที่เกิดจากโลหะที่ติดไฟได้โดยเฉพาะ
การเลือกเครื่องดับเพลิงโดยดูจากความสามารถในการดับเพลิง (Fire Rating)
ความสามารถในการดับเพลิงหรือ Fire Rating คือสมรรถนะที่ใช้ในการทดสอบดับเพลิง ซึ่งถูกกำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ สมอ. ที่ได้จัดทำเป็น มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. เพื่อควบคุมคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค โดย มอก. สำหรับเครื่องดับเพลิงที่ติดอยู่บนฉลากข้างเครื่องดับเพลิง ได้กำหนดความสามารถในการดับเพลิงของเครื่องดับเพลิงไว้เพื่อเปรียบเทียบข้อแตกต่างของประสิทธิภาพในการดับเพลิงไว้ เพื่อการเลือกใช้ที่เหมาะสม
การเลือกใช้ต้องได้รับการรองรับผลิตภัณฑ์มาตรฐานของประเทศไทย คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย (มอก.)
เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ ต้องเหมาะสมกับประเภทของเชื้อเพลิงและเป็นไปตามมาตรฐานเหล่านี้
มอก. 332-2537 เครื่องดับเพลิงยกหิ้วชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Portable Fire Extinguisher)
มอก. 882-2532 เครื่องดับเพลิงยกหิ้วชนิดโฟม (Foam Portable Fire Extinguisher)
มอก.881-2532 เครื่องดับเพลิงยกหิ้วชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide Portable Fire Extinguisher)
มาตรฐานสากลอื่นๆ เช่น UL (Underwriter Laboratory), FM (Factory Mutual) เป็นต้น
จากภาพคือ Fire Rating ของเพลิงไหม้ประเภท A ยิ่งตัวเลขมากยิ่งสามารถดับเพลิงไหม้ประเภท A ได้มาก
จากภาพคือ Fire Rating ของเพลิงไหม้ประเภท B ยิ่งตัวเลขมากยิ่งสามารถดับเพลิงไหม้ประเภท B ได้มาก
สำหรับเพลิงไหม้ประเภท C จะไม่มี Fire Rating แต่บนฉลากจะบอกว่าเครื่องดับเพลิงนั้นสามารถดับเพลิงประเภท C ได้หรือไม่
สรุป
ในการดับเพลิงนั้น นอกจากจะต้องมีสติแล้ว ยังจะต้องมีความรู้ในการเลือกใช้เครื่องดับเพลิงด้วย ไม่เช่นนั้น การลงมือดับเพลิงอย่างผิดวิธีก็อาจจะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายลงมากกว่าเดิมได้ เราควรที่จะทราบประเภทของเพลิงว่าเกิดจากเชื้อเพลิงชนิดใด เพื่อสามารถเลือกใช้เครื่องดับเพลิงได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยต่อผู้เข้าดับเพลิง ตลอดจนต้องพิจารณาเรื่องมาตรฐาน และความสามารถในการดับเพลิง (Fire Rating) ซึ่งเป็นอีกสิ่งสำคัญที่ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องดับเพลิงได้ และเพื่อความไม่ประมาท เราจะต้องดูแลรักษาเครื่องดับเพลิงให้สามารถใช้งานได้อยู่เสมอ เพราะว่าอัคคีภัยนั้นไม่สามารถทำนายได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สามารถติดต่อบริษัท เครื่องดับเพลิงอิมพีเรียล จำกัด Tel.02-3186445, 02-7183939 Fax.02-3186449
Email : Contact@imperial.co.th